icb

บทบาทของศาลอาญาระหว่างประเทศมีหน้าที่อะไร​

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้เชื่อเหลือเกินว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับคำว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่ก็น่าจะยังคงมีอีกหลายๆ คนที่ไม่ค่อยเข้าใจกับคำพูดนี้สักเท่าไหร่นักว่ามันคืออะไร มันจะเหมือนกับศาลอาญาตามประเทศต่างๆ หรือไม่ มีบทบาทอย่างไรกันบ้าง ตรงนี้จะมีคำตอบเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจถึงความเป็นจริงว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นมีบทบาทที่เป็นอย่างไรกันแน่ และเป็นการตอบข้อสงสัยที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินแต่ไม่เคยรู้ความหมายที่แท้จริง ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) หรือ ICC นั้น เป็นการเกิดขึ้นในลักษณะของสนธิสัญญาที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี จากการประชุมเพื่อเป็นการจัดตั้งศาลในลักษณะที่ค่อนข้างจะมีความมั่นคงถาวรสำหรับการทำหน้าที่พิจารณาความผิดของบุคคลทั่วไปที่ทำการก่ออาชญากรรมร้ายแรงอย่างมากที่สุด เนื่องมาจากว่าในอดีตนั้นศาลที่เคยพิจารณาคดีในลักษณะนี้คือศาลเฉพาะธรรมนูญกรุงโรมเพียงเท่านั้น โดยศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ได้รับการรับรองจากสมาชิกสมัชชาสหประชาชาติจำนวน 160 ประเทศ โดยได้รับการรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2541 และมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2545 และประเทศไทยเองก็ถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่ให้การสนับสนุนธรรมนูญกรุงโรมพร้อมกับลงนามเอาไว้เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 จริงๆ แล้ววัตถุประสงค์หลักที่มีการก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้นมานั้น ก็เพื่อไม่ต้องการที่จะให้ผู้ทำการก่ออาชญากรรมชนิดที่ร้ายแรงที่สุดถูกปล่อยตัวออกไปทั้งๆ ที่ไม่มีการลงโทษใดๆ ทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิธีในการช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงในอนาคตได้ แต่ศาลประเภทนี้ไม่ใช่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก คือจะเน้นไปที่คนทั่วๆ ไปไม่ใช่กลุ่มอำนาจรัฐ มีอำนาจในการพิจาณาคดีเหนือกว่าคดีอาชญากรรมทั่วไป โดยบทบาทหลักๆ จะประกอบไปด้วย 4 ประเภท

  1. การทำลายล้างเผ่าพันธุ์ – ซึ่งมันคงไม่มีใครอยากให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นเหมือนยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สั่งฆ่าชาวยิวหลายล้านคนอย่างแน่นอน การมีศาลอาญาระหว่างประเทศจึงสามารถจัดการกับคนที่กระทำผิดในลักษณะแบบนี้ได้
  2. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ – คือหากใครที่ทำอาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้จะต้องได้รับการตัดสินและการลงโทษที่ร้ายแรงอย่างแน่นอน
  3. อาชญากรรมสงคราม – ใครที่พยายามสร้างให้เกิดสงครามขึ้นกับโลกก็จะโดนศาลอาญาระหว่างประเทศจัดการ คล้ายๆ กับกรณีของ ซัดดัม ฮุสเซน หรือ บิน ลาเดน เป็นต้น
  4. อาชญากรรมอันเป็นการรุกราน – ทั้งนี้มีการประชุมเพื่อทบทวนนิยามและความหมายใหม่ ซึ่งมีความหมายว่าใครที่ทำให้เกิดปัญหาในด้านของการรุกรานเกิดขึ้นก็อาจจะโดนลงโทษได้เช่นเดียวกัน

 

icb

การปฏิรูปกฎหมายอาญาครั้งใหญ่ในประเทศเยอรมัน

ในประเทศเยอรมนี คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลกลาง ได้ร่างกฎหมายเพื่อปฏิรูปการกู้คืนทรัพย์สินในความผิดทางอาญา เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับเหยื่อซึ่งต้องได้รับเงินชดเชยให้เหมาะสมกว่าสิ่งที่ควรจะเป็น ในปัจจุบันนั้นเจ้าหน้าที่ยึดทรัพย์สินเพื่อหาแหล่งที่มาเท่านั้น การที่ต้องเรียกร้องความเป็นธรรมนั้น ต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนมากเกินไป และมีค่าใช้จ่ายที่สูง หลายคนต้องปล่อยผ่านละเลยไปเพราะ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการต่อสู้กับคดี เรื่องราวเหล่านี้เราได้ตระหนักถึง เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของช่องว่างทางกฎหมาย จึงได้มีการ ปฏิรูปครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมันเลยทีเดียว ในอนาคตทางรัฐบาลได้มีการวางแผนให้มีการจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางอาญาเข้ามาร่วมมือการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้มีความยุติธรรมมากขึ้น ยกตัวอย่าง บริษัทที่เป็นเหยื่อโดยการโกงซึ่งเป็นความผิดทางอาญาของพนักงาน เช่น สินบนการโกงติดสินบนกับเจ้าหน้าที่ ทรัพย์สินที่ถูกโกงนั้นจะถูกยึดไปเป็นหลักฐาน กรณีดังกล่าวผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะได้รับความเสียหาย เราจึงต้องคิดช่วยกันหาทางป้องกันมาตรการฟื้นฟูทรัพย์สินเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

icb

ที่มาของประวิติการก่อตั้ง icb

IBC ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2002 ต่อมาได้จัดประชุมสมัชชาครั้งแรกในวันที่ 21-22 มีนาคม 2003 ซึ่งมาคนเข้าร่วมมากกว่า 400 คน จาก 50 ประเทศ ทั่วโลก หน้าที่ขององค์กรนี้เพื่อให้ความเป็นธรรมของระบอบกฎหมายที่แตกต่างกัน เพื่อให้คู่กรณีทั้ง 2 ประเทศ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายอาญาระหว่างประเทศที่สำคัญเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้เป็นเหยื่อในการกระทำช่อโกง หลังจากก่อตั้งมาเกิน 15 ปีแล้ว องค์กรได้พัฒนาให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลกของการตัดสินอย่างตรงไปตรงมา และ มีหลายประเทศ ที่มีข้อกังหาว่าเราทำงานได้ยุติธรรมจริงหรือ ปัจจุบันข้อกังหาเหล่านั้นได้หมดไป เนื่องจากผลงานการทำงานที่มีประสิทธิภาพได้รับความเป็นธรรมทั่วโลก

กระทรวงยุติธรรม

icb
  • ICB
  • ICC
  • ศาลอาญา
  • คดีความอาญา
  • กระทรวงยุติธรรม

ศาลอาญา

icb
  • ผู้ก่อตั่ง
  • การก่อตั้ง ICB
  • ศาลอาญาโลก
  • การปฏิรูปกฎหมาย
  • ศาลอาญาระหว่างประเทศ

อาชญากรรม

icb
  • อาชญากรรมสงคราม
  • การทำลายล้างเผ่าพันธุ์
  • อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
  • อาชญากรรมอันเป็นการรุกราน
  • อาชญากรรมทางทรัพย์สิน
  • อาชญากรรมทางปัญญา
  • อาชญากรรมคุกคามทางเพศ
icb